เจาะตลาด Gen Z ด้วย “Genderless Marketing” การตลาดไร้เพศ

Gen Z ไม่สนใจเพศในการเลือกซื้อสินค้า แนวคิด Genderless จึงเป็นที่นิยมในการทำการตลาดกลุ่มนี้

เจาะตลาด Gen Z ด้วย “Genderless Marketing” การตลาดไร้เพศ

เจาะตลาด Gen Z ด้วย “Genderless Marketing” การตลาดไร้เพศ

กลุ่มตลาด Gen Z  ถือเป็นตลาดที่เริ่มมีกำลังซื้อมากขึ้น แต่เดิมนั้นหลายคนคงคุ้นชินกันดีกับการทำสินค้าโดยที่จะระบุประเภทและฟังก์ชันของสินค้า มีแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบสินค้าและบริการว่าจะต้องแยกตามฟังก์ชันที่ผู้ใช้ต้องการ ซึ่งรูปแบบของการแยกฟังก์ชันของผู้ใช้รูปแบบหนึ่งที่นิยมกันมาก คือ แยกตามเพศ เช่น ครีมกลิ่นนี้เหมาะกับผู้หญิง เสื้อผ้ารูปแบบนี้ใช้สำหรับผู้ชาย แต่ในปัจจุบันนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการสร้างสินค้าโดยที่ไม่แยกประเภทตามเพศของผู้ใช้

ในตอนนี้เราต้องยอมรับกันว่ามีความเป็นปัจเจกในแง่ของเพศของแต่ละบุคคลกันมากขึ้น Gen Z ผู้คนมองข้ามเรื่องเพศกันออกไป แต่จะมองถึงตัวตนของตัวเองมากกว่า ในอดีตมีหลายคนเหมือนกันที่เป็นผู้หญิงแต่ชอบกลิ่นโรลออนของผู้ชายหรือเป็นผู้ชายแต่รู้สึกว่าเนื้อผ้าลักษณะของเสื้อผ้าบางแบบของผู้หญิงนั้นเหมาะกับตัวเองมากกว่า โดยจะยึดกับตัวตนและลักษณะไลฟ์สไตล์ของการใช้ชีวิตมากกว่าที่จะมองว่าสินค้านั้นถูกออกแบบมาเพื่อใคร

โดยแนวคิด Genderless หรือการ “ไม่แบ่งแยกเพศ” ถือว่าเป็นกระแสที่กำลังมาแรงในปัจจุบันโดยที่การเลือกใช้สินค้านั้นจะไม่มีการแบ่งแยกตามเพศหญิงหรือเพศชาย

เพื่อให้ตอบสนองกับกลุ่มลูกค้า Gen Z ดังนั้นหลายแบรนด์จึงปรับตัวที่จะนำเสนอสินค้าและบริการโดยที่ไม่มีการระบุเพศกันมากขึ้น แต่จะบ่งบอกถึงความเป็นตัวตนลักษณะไลฟ์สไตล์ของชีวิตหรือการใช้งานโดยที่ผู้ซื้อนั้นจะเลือกจากฟังก์ชัน Emotion ที่ตัวเองสนใจโดยที่มองภาพข้ามในเรื่องเพศออกไป

ดังนั้นเราจึงจะเห็นสินค้าและบริการ สำหรับกลุ่ม Gen Z ในแง่ของ unisex มากขึ้นคือการสามารถใช้ได้ทั้งผู้หญิงผู้ชาย หลายธุรกิจที่เราพอจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพในแนวคิดของ Genderless Marketing  อย่างเช่น การออกแบบเสื้อผ้าเครื่องประดับที่จะสามารถใช้ทั้งผู้หญิงผู้ชายซึ่งหลายแบรนด์ก็ได้ทำกันออกมา  แบรนด์เครื่องสำอางจากเกาหลีอย่าง LAKA ก็ประกาศตัวเองว่าเป็นแบรนด์เครื่องสำอางที่ไร้เพศสามารถใช้ได้ทั้งผู้หญิงผู้ชาย ต้องการให้ผู้ใช้งานมั่นใจในเอกลักษณ์ในตัวตนของตัวเองมากกว่า

นอกจากสินค้าและบริการแล้วในแง่ของภาครัฐในบางประเทศก็สนับสนุน Gen Z ด้วยแนวคิดของ Genderless กันมากขึ้น บางประเทศ เช่น แคนนาดา, ออสเตรเลีย, รวมถึงรัฐต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา อนุญาตให้พลเมืองสามารถระบุได้ว่าเป็นเป็น “คนไม่มีเพศ” ได้แล้ว รวมถึงพ่อแม่บางคนก็เริ่มที่จะมีแนวคิดที่จะตั้งชื่อลูกแบบกลางๆโดยที่ชื่อนั้นสามารถเป็นได้ทั้งผู้หญิงหรือผู้ชาย สิ่งเหล่านี้กำลังบ่งบอกว่าลักษณะความเป็นตัวตนความเป็นเอกลักษณ์สำคัญมาก่อนเพศสภาพที่ติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิด

จึงเป็นอีกแนวคิดหนึ่งสำหรับสินค้าหรือแบรนด์ที่จะต้องการทำสินค้าออกมาตอบสนองของผู้คนในยุค Gen Z นี้จะเห็นได้ว่าการทำการตลาดของแต่ละยุคนั้นก็จะมีวิธีคิดและรูปแบบที่ถูกพัฒนาหรือมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่ง ดังนั้นสำหรับธุรกิจแล้วการมี Partner ในการที่จะช่วยแนะนำเทรนด์ใหม่ๆหรือการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งแนวคิดของการตลาดให้กว้างมากยิ่งขึ้นเป็นเรื่องสำคัญ

บาร์เทอร์คาร์ด จะเป็นผู้ช่วยที่ดี ที่นำธุรกิจมาได้พบกับพาร์ทเนอร์ที่จะช่วยให้การทำการตลาดนั้น ไม่หยุดนิ่งอยู่ที่เดิม การได้แลกเปลี่ยนจุดแข็งของแต่ละธรุกิจจะเป็นประโยชน์อย่างมาก รวมทั้งเปิดโอกาสในการขายได้มากกว่าเดิมอย่างแน่นอน นอกจากนั้น บาร์เทอร์คาร์ด ยังเป็นแพลตฟอร์มทางธุรกิจที่จะสร้างความแตกต่าง ช่วยให้ธุรกิจในเรื่องของการบริหารการเงิน ต้นทุนซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้เรื่องการตลาดอีกด้วย